top of page

คำอธิบายรายวิชา

                 ศึกษา วิเคราะห์คุณลักษณะพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก โครงสร้างทางสังคมเกี่ยวกับการจัดระเบียบทางสังคม สถาบันทางสังคม การขัดเกลาทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การแก้ปัญหาและแนวทางการพัฒนาทางสังคม ความหมาย ลักษณะ และความสำคัญของวัฒนธรรมไทยที่สำคัญ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ดีงาม และวิธีการเลือกรับวัฒนธรรมสากล

                โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ตระหนัก เห็นความสำคัญ และปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสังคม รักษาและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมไทยและสังคมโลกได้อย่างสันติสุข

                ศึกษา วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองการปกครองของสังคมไทย อิทธิพลของระบบการเมืองการปกครองที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนเพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมด้านวัฒนธรรม การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ และสังคมโลก ได้แก่ กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา กฎหมายอาญา กฎหมายอื่นที่สำคัญ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน กฎหมายการรับราชการทหาร กฎหมายภาษีอากร กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ข้อตกลงระหว่างประเทศ ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด และหลักการของสิทธิมนุษยชน  บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศในเวทีโลกที่มีผลต่อประเทศไทย สาระสำคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศและแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนา ปัญหาการเมืองสำคัญที่เกิดขึ้นภายในประเทศ

โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักและเห็นความสำคัญของสิทธิมนุษยชน เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด มีความเข้าใจ ศรัทธา และมีส่วนร่วมในการธำรงรักษา ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมไทยและสังคมโลกได้อย่างสันติสุข

            มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

            มฐ. ส 2.1 ม. 4–6/2, มฐ. ส 2.1 ม. 4–6/3, มฐ. ส 2.1 ม. 4–6/5  

            มฐ. ส 2.1 ม. 4–6/1,  มฐ. ส 2.1 ม. 4–6/4

            มฐ. ส 2.2 ม. 4–6/1,  มฐ. ส 2.2 ม. 4–6/2,  มฐ. ส 2.2 ม. 4–6/3,  มฐ. ส 2.2 ม. 4–6/4

           

            รวมทั้งหมด 9 ตัวชี้วัด

bottom of page